โลกของเรามีชั้นของบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบหนาประมาณ
15 กิโลเมตร
ชั้นของบรรยากาศดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละอองไอน้ำ
และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในจำนวนก๊าซเหล่านี้
ก๊าซที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ของ สิ่งมีชีวิตในโลก คือ
ก๊าซออกซิเจนและชั้นของบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอ ต่อการดำรงชีวิตมีความหนาเพียง
5 - 6 กิโลเมตรเท่านั้น
ซึ่งปกติ จะมีส่วนประกอบ ของก๊าซต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ คือ ก๊าซไนโตรเจน 78.09% ก๊าซออกซิเจน 20.94%
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย 0.97% ถือว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์
แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปมีปริมาณ
ของฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น หมอกควัน ไอ ไอน้ำ
เขม่าและกัมมันตภาพรังสีอยู่ในบรรยากาศมากเกินไป เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า
อากาศเสีย หรือ มลพิษทางอากาศ
เกิดจาก
1. การเผาในที่โล่ง
มาดูสารพิษที่เกิดจากการเผาในที่โล่ง
การเผา ปล่อย PM 2.5 ถึง 209,937 ตัน / ปี ในพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนเข้าสู่การผลิตอาหารของอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่
ในทุกๆปี
แล้วการเผาขยะล่ะ
จะปล่อยก๊าซอะไรมาบ้าง
สารพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาขยะประเภทแก้วโฟมหรือถ้วยโฟม
โฟมกันกระแทก กล่องโฟมบรรจุอาหาร จะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซสไตรีน (Styrene) สามารถถูกดูดซึมผ่านผิวหนังและปอดได้
ไอระเหยของสารนี้จะระคายเคืองตา
จมูก และระบบทางเดินหายใจส่วนบน และจะทำให้รู้สึกมีรสโลหะในปาก อาการแบบเฉียบพลัน
การได้รับปริมาณสไตรีนที่มีความเข้มข้นสูงทำให้เกิดการระคายผิวหนัง
และผิวหนังอักเสบ ระคายเคืองจมูกและลำคอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
ง่วงซึม และอ่อนเพลีย เสียความสมดุลของระบบประสาทส่วนกลาง อาการแบบเรื้อรัง
การได้รับสไตรีนติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้
ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย มีอันตรายต่อตับ ไต และระบบเลือด และเป็นสารก่อมะเร็ง
ส่วนการเผาไหม้พลาสติกประเภทพีวีซีทำให้เกิด
การปล่อยก๊าซไดออกซิน เป็นสารพิษต่อระบบต่างๆ ในร่างกายของคน เป็นสารก่อมะเร็ง
และรบกวนการทำงานของระบบฮอร์โมน
สามารถสะสมในร่างกายและถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกได้ผ่านทางรก
2.การเผาไหม้จากน้ำมันเชื้อเพลิง
ส่วนใหญ่แล้วมาจาก
การเผาไหม้ในเชิงของการคมนาคมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ เรือ เครื่องบิน ซึ่งปล่อย PM2.5 ราว 50,240 ตัน / ปี
1.รถยนต์เครื่องดีเซลล์ ช่วงที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์มากที่สุด คือรถประจำทาง รถบรรทุก ที่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป
2.รถยนต์เครื่องเบนซินช่วงที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์มากที่สุดคือ รถที่อยู่ระหว่างเบาเครื่องจอดติดเครื่องขณะรถติด
3.รถยนต์ใช้น้ำมันผสมช่วงที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์มากที่สุด คือ สามล้อเครื่อง ขณะบรรทุกหนักและจอดรอสัญญาณไฟ
สารที่จะถูกปล่อยไปในอากาศ คือ
พิษของสารตะกั่วที่เห็นได้ชัดเจนมาก คือ นอนไม่ค่อยจะหลับ อารมณ์ไม่แจ่มใส เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ท้องผูก อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เหงือกซีด โลหิตจาง ไตพิการ ทำลายเนื้อเยื่อสมอง ทำให้ปวดศีรษะ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตจนถึงตายได้
นอกจากนี้ตะกั่วยังไปสะสมได้ในกระดูก ทั้งนี้เพราะตะกั่วมีลักษณะคล้ายแคลเซี่ยมและสามารถสะสมในเนื้อเยื่ออ่อนโดยเฉพาะในสมอง ไต และอวัยวะอื่น ๆ ได้ด้วย
เมื่อสารตะกั่ว ลอยขึ้นสู่อากาศ บางส่วนเข้าสู่ระบบหายใจ และบางส่วนลอยสู่ผิวน้ำทะเล แม่น้ำลำคลอง
อันตรายของตะกั่ว ที่ถูกฝนชะล้างลงสู่แม่น้ำลำคลอง ไหลลงทะเล สัตว์น้ำ เช่น ปู ปลา กุ้ง หอย ก็รับเอาสารตะกั่วเข้าไปสะสมในร่างกาย
เมื่อเรากินสัตว์น้ำพวกนี้เข้าไปก็ได้รับอันตรายจากพิษของตะกั่วเข้าไปด้วย โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่มีตะกั่วสะสมอยู่มาก คือ ปลา และหอยนางรม ที่เป็นอาหารอันโอชะของใครหลายคน
3.การผลิตไฟฟ้า
4.
อุตสาหกรรมการผลิต
ปล่อย PM2.5 ราว 65,140 ตันต่อปี โดยพบมากที่สุดในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ซึ่งเกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมีและอุตสาหกรรม
สารพิษ และสารเคมี ฝุ่นละออง PM 2.5
ที่ไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่า สามารถเข้าสู่ระบบร่างกายทางจมูก สิ่งเหล่านี้เป็นผลจากการเติบโตของอุตสาหกรรม
การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ซึ่งได้ถูกปล่อยไปสู่อากาศ
น้ำ และดิน พืช เมื่อสัตว์ ได้กิน สารพิษที่ปนเปื้อนเข้าไป
ย่อมกระทบถึงระบบนิเวศตามธรรมชาติ และมนุษย์เองย่อมได้รับผลกระทบ เป็นลักษณะโดมีโน่
แม้ว่า จะมีมาตรการ ควบคุมมลพิษ แต่ในทางปฎิบัติยังมีช่องโหว่ ที่ง่ายต่อการละเมิด
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ภาครัฐควรหันมาใส่ใจสภาพแวดล้อม และมลพิษทางอากาศ เลือกใช้พลังงานทางเลือก
เพื่อให้ต่ออายุให้โลกใบนี้
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.deqp.go.th/knowledge/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น